ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Monkey-faced tree
Monkey-faced tree
Mallotus philippensis Müll.Arg.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Euphorbiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Mallotus philippensis Müll.Arg.
 
  ชื่อไทย คำแสด, มะกายคัด , กายขัดหิน
 
  ชื่อท้องถิ่น ไม้เล็ง(ไทใหญ่)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ประมาณ 15 ม.
 
  ใบ หูใบรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาว 0.5-1.3 ซม. ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 4-22 ซม. ปลายใบเรียวแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบกลม ก้านใบยาว 1.5-5 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีขนหนาแน่น และต่อมเป็นเกล็ดจำนวนมาก เส้นแขนงใบ 3 เส้นใบ (triplinerved)
 
  ดอก ดอกออกเป็นช่อเดี่ยวตามซอกใบ หรือหลายช่อตามปลายกิ่ง ช่อดอกเพศผู้ยาวได้ถึงประมาณ 18 ซม. ออกเป็นกลุ่ม 3-4 ดอก ดอกสีเขียว เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-0.3 ซม. กลีบเลี้ยง 2-4 กลีบ เกสรเพศผู้ 15-20 อัน ช่อดอกเพศเมียยาวได้ประมาณ 20 ซม. ดอกเพศเมียเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.4 ซม. สีเหลืองหรือสีแดง กลีบเลี้ยง 3-6 กลีบ รังไข่มี 2-3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียยาวได้ประมาณ 0.1 ซม. ปลายเกสรแยกเป็น 3 แฉก ยาว 0.3-0.5 ซม.
 
  ผล ผลแห้งแล้วแตก รูปรีหรือเกือบกลม เป็นพูเล็กน้อย มีต่อมและขนสั้นสีน้ำตาลเข้มหรือสีแดง เมล็ดสีดำ ทรงรี ยาวประมาณ 0.4 ซม.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เปลือกต้น รักษาโรคกระเพาะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน(ไทใหญ่)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ลักษณะ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsnamesci=Mallotus0philippensis0%28Lam.%290Mull.0Arg.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง